top of page
รูปภาพนักเขียนSCC Online

กระดาษเทอร์มอล สร้างตัวหนังสือได้อย่างไร?


กระดาษเทอร์มอล กระดาษความร้อน สร้างตัวหนังสือได้อย่างไร การทำงานของกระดาษความร้อน

กระดาษเทอร์มอล (Thermal Paper), กระดาษความร้อน หรืออีกชื่อหนึ่งที่หลาย ๆ คนเรียกว่าใบเสร็จ ได้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นที่ร้านสะดวกซื้อ, ห้างสรรพสินค้า, ร้านอาหาร จนไปถึงการใช้งานในรูปแบบอื่นๆ อาทิ สลิปบัตร ATM, บัตรคิว, บัตรจอดรถ, ใบแจ้งหนี้ค่าน้ำ/ค่าไฟ, ตั๋วต่าง ๆ หรือแม้แต่ใช้เป็นตั๋วโดยสารเครื่องบิน (Boarding pass) ซึ่งรู้ตัวอีกทีรอบตัวของเราก็มีกระดาษชนิดนี้อยู่เต็มไปหมด แต่ทุกคนรู้กันหรือไม่คะ ว่ากระดาษเทอร์มอลนี้มีหลักการทำงานอย่างไรที่ทำให้กระดาษที่ดูเหมือนจะปกติ เพียงแค่โดนความร้อนก็ทำให้เกิดตัวหนังสือขึ้นมาได้?



ชั้นของกระดาษเทอร์มอล


ก่อนที่จะไปดูหลักการทำงานของกระดาษเทอร์มอล เราต้องรู้กันก่อนค่ะว่าจริง ๆ แล้วกระดาษความร้อนนั้นเป็นกระดาษที่ถูกเคลือบไว้ด้วยสารเคมีหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ชั้น ประกอบไปด้วย

  1. หน้าปก (Front Cover)

  2. สีย้อมไวต่อกรด (Acid Sensitive Dye)

  3. กรดอะซิติกที่ไวต่อความร้อน (Heat Sensitive Acetic Acid)

  4. ปกหลัง (Back Cover)


1.) หน้าปก (Front Cover)

ชั้นแรกเป็นส่วนของหน้าปก ซึ่งจะเป็นส่วนที่จะแสดงข้อความหรือภาพที่จะปรากฎขึ้นมา เราอาจจะเปรียบส่วนของหน้าปกนี้ว่าเป็นจอแสดงผลก็ว่าได้ค่ะ


2.) สีย้อมไวต่อกรด (Acid Sensitive Dye)

Acid Sensitive Dye สีย้อมไวต่อกรด

สำหรับชั้นที่ 2 นี้คือชั้นที่ถูกเคลือบไว้ด้วยสีย้อมไวต่อกรด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดตัวหนังสือหรือภาพขึ้นในชั้นของหน้าปก โดยสารเคมีชนิดนี้มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของค่า pH


ซึ่งเมื่อค่า pH เปลี่ยนไป สารเคลือบชนิดนี้จะทำให้เกิดปฎิกริยาเปลี่ยนสีของสารเคลือบให้เป็นอีกสีหนึ่งนั่นเอง


3.) กรดอะซิติกที่ไวต่อความร้อน (Heat Sentitive Acetic Acid)

Heat Sentitive Acetic Acid กรดอะซิติก

ชั้นนี้ถูกเคลือบด้วยกรดอะซิติกที่ไวต่อความร้อน ตัวกรดอะซิติกชนิดนี้จะทำปฏิกิริยากับความร้อนโดยตรงและจะปล่อยโปรตอนออกมาเพื่อไปทำปฏิกิริยากับชั้นที่ 2 (Acid Sensitive Dype)


4.) ปกหลัง (Back Cover)

ส่วนของปกหลังจะเป็นกระดาษทั่วไป ที่ไม่ได้ถูกเคลือบไว้ ซึ่งทำให้ไม่สามารถใช้ความร้อนในการพิมพ์บนด้านนี้ได้



หลักการทำงานของกระดาษเทอร์มอล

หลักการทำงานกระดาษความร้อน กระดาษเทอร์มอล

หลักการทำงานของกระดาษเทอร์มอลนั้นมีตัวแปรสำคัญคือความร้อนค่ะ เมื่อเกิดความร้อนขึ้นบนตัวกระดาษ ความร้อนจะทำให้กรด Octadecylphosphonic นั้นถูกละลาย และปล่อยโปรตอนออกมาเพื่อเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้กลายเป็นกรด (H+)


และเมื่อสภาพแวดล้อมกลายเป็นกรดจะทำให้สีย้อมเคมี (Chemical Dyes) เช่น คริสตัลไวโอเลตแลคโตน (Crystal Violet Lactone) ที่อยู่ในชั้นที่ 2 สามารถรับโปรตอนและเปลี่ยนจากสถานะไม่มีสีเป็นสีดำได้นั่นเอง ดังนั้นในการพิมพ์บนกระดาษเทอร์มอล สิ่งที่เราจำต้องใช้มีเพียงแค่ความร้อนนั่นเองค่ะ



เครื่องพิมพ์กระดาษเทอร์มอล

เครื่องพิมพ์ กระดาษเทอร์มอล

จากเนื้อหาข้างต้นจะเห็นได้ว่ากระดาษเทอร์มอลนั้นไม่จำเป็นต้องใช้หมึกในการพิมพ์ ซึ่งส่วนนี้ทำให้ผู้ประกอบการนั้นสะดวกในการใช้งานและประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับส่วนที่ต้องซื้อน้ำหมึกไว้สำหรับพิมพ์

ซึ่งด้วยเหตุนี้ทำให้เครื่องพิมพ์ของกระดาษเทอร์มอลสามารถประยุกต์ใช้ได้หลายแบบโดยที่ไม่ต้องห่วงเรื่องพื้นที่สำหรับแท่นใส่น้ำหมึกเลยค่ะ



สำหรับลูกค้าท่านใดที่สนใจสอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อกระดาษเทอร์มอล สามารถติดต่อบริษัทฯ โดยตรงได้ที่เบอร์ 095-494-1661 หรือไลน์ https://lin.ee/cdQSYbx ได้เลยนะคะ สุขสวัสดิ์ยินดีให้บริการค่ะ




อ้างอิง:

- รายการ Chemistry in everyday life: Hong Kong Univ. of Sci & Tech, เข้าถึงจาก Youtube.com

- บทความ What you need to know about thermal paper, เข้าถึงจาก Domtar Paper

- สารานุกรม Thermal paper, เข้าถึงจาก Wikipedia

Comments


bottom of page